ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ ด.ช.อุสมาน โชคเกื้อครับ

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

  พินิจคุณค่าวรรณคดี
ด้านสังคม        เห็นถึงคุณค่าของงานศิลปะ ซึ่งงานศิลปะนี้สามารถทำให้เราสบายใจได้
                         เห็นถึงความตั้งใจของช่างสาขาต่างๆที่ทำงานศิลปะ
ด้านอารมณ์      ศิลปะทำให้เรามีความสุขและหากเราไม่มีศิลปะในหัวใจจะทำให้เราไม่มีสิ่งสวยงามเพื่อยึดเหนี่ยว                                      จิตใจและไม่มีความสุข  ความแจ่มใส
ด้านวรรณศิลป์  มีการใช้ภาษาที่สวยงาม  มีการเล่นคำ  การเล่นเสียงและการใช้ภาพพจน์
                การเล่นคำ    เช่น
·        เหมือนคนป่าคนไพรไม่รุ่งเรือง    จะพูดด้วยนั้นก็เปลืองซึ่งวาจา
·        ทั้งช่างรูปพรรณสุวรรณกิจ       ช่างประดิษฐ์รัชดาสง่าผ่อง
·        อีกช่างถมลายลักษณะจำลอง    อีกช่ำชองเชิงรัตนประกร
·        เราช่วยช่างเหมือนอย่างช่วยบ้านเมือง   ให้ประเทืองเทศไทยอันไพศาล
                 การเล่นเสียง
การเล่นเสียงพยัญชนะ  เช่น
·        ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่
·        ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก
·        จึงยกย่องศิลปะกรรม์นั้นทั่วไป
·        ใครดูถูกผู้ชำนาญในการช่าง
·        อย่าให้หย่อนกว่าเขาเราจะอาย
·        พอไม่อายเพื่อนบ้านจึ่งจะดี

การเล่นเสียงสระ  เช่น
·        อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ  ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่
·        ใครใครเห็นไม่เป็นที่จำเริญตา  เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย
·        เพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ  โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ
·        ใครดูถูกผู้ชำนาญในการช่าง  ความคิดขวางเฉไฉไม่เข้าเรื่อง
·        สมเป็นเมืองใหญ่โตโหฬาร  พอไม่อายเพื่อนบ้านจึ่งจะดี

คุณค่าของวรรณคดี คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คุณค่าด้านสังคม คุณค่าการนำไปใช้ วรรณคดีเป็นสิ่งที่กล่อมเกลามนุษย์ ให้รู้จักความงาม ความดีและความเป็นจริงของมนุษย์ ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดี เรียกว่า วรรณศิลป์ เพื่อก่อให้เกิด ความงาม ความไพเราะ ความหมาย อ่อนหวานมานมิตรล้นเหลือหลาย หยาบบ่อมีเกลอกรายเกลื่อนใกล้ ดุจดวงศศิฉายดาวดาษ ประดับนา สุริยะส่องดาราไร้เพื่อร้อนแรงแสง
การเล่นคำซ้ำ “… แต่แม่เที่ยวเซซังเสาะแสวงทุกแห่งห้องหิมเวศ ทั่วประทศทุกราวป่า สุดนัยนาที่แม่จะตามไม่เล็งแล สุดโสตแล้วที่แม่จะซับทราบฟังสำเนียง สุดสุรเสียงที่ แม่จะร่ำเรียกพิไรร้อง สุดฝีเท้าที่แม่จะเยื้องย่องยก ย่างลงเหยียบดิน ก็สุดสิ้นสุดปัญญาสุดหาสุดค้นเห็น สุดคิด
มนุษย์ ศิลปะ ช่วยให้ สร้าง ต้องการความสบายใจ /บำรุงจิตใจ มีความงาม/ความ ไพเราะ ภาพวาด ดนตรี วรรณกรรม 
นส่วนหนึ่งของ ได้รับการยกย่อง เน้นงานศิลปะที่ใช้ภาษาเป็นสื่อ วรรณกรรม วรรณคดี วรรณคดีสโมสร รัชกาลที่ ๖ งานเขียนที่เกิดจากความรู้สึก ความนึกคิด จินตนาการของมนุษย์ ทรงก่อตั้ง
วรรณคดีบทเสภาสามัคคี ผู้แต่ง บทเสภาสามัคคีเสวกเป็นบทเสภาขนาดสั้น มี ๔ ตอน เนื้อหาในแต่ละตอน เป็นการนำเสนอแนวคิด โดยแนวคิดสำคัญ คือ ความสามัคคี และจงรักภักดี ของข้าราชการที่มีต่อชาติและพระมหากษัตริย์  
จุดประสงค์การเรียนรู้  รู้ที่มาและลักษณะกลอนเสภา  รู้เนื้อหาของเรื่อง บทเสภา สามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมา รู้เนื้อหาของเรื่อง บทเสภา สามัคคีเสวก ตอนสามัคคี เสวก

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก



ประการหนึ่งพึงคิดในจิตมั่น          ว่าทรงธรรม์เหมือนบิดาบังเกิดหัว
ควรเคารพยำเยงและเกรงกลัว          ประโยชน์ตัวนึกน้อยหน่อยจะดี

หมายถึง สิ่งหนึ่งที่เราควรมีไว้ในจิตใจคือ พระเจ้าแผ่นดินเปรียบเสมือนพ่อบังเกิดเกล้าที่เราควรเกรงใจและเคารพนับถือ เราต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป 
-----------------------------------------------------------
ควรนึกว่าบรรดาข้าพระบาท          ล้วนเป็นราชบริพารพระทรงศรี
เหมือนลูกเรืออยู่ในกลางหว่างวารี           จำต้องมีมิตรจิตรสนิทกัน

หมายถึง ควรนึกว่าพวกเราก็เป็นข้ารับใช้ของพระเจ้าแผ่นดินคนหนึ่งเหมือนลูกเรือที่ อยู่ในเรือกลางทะเลจำเป็นที่จะต้องมีความสามัคคีต่อกันและกัน 
----------------------------------------------------------
แม้ลูกเรือเชื่อถือผู้เป็นนาย         ต้องมุ่งหมายช่วยแรงโดยแข็งขัน
คอยตั้งใจฟังบังคับกัปปิตัน          นาวานั้นจึงจะรอดตลอดทะเล

หมายถึง ถ้าลูกเรือเชื่อฟังกัปตันก็จะต้องช่วยกัปตันอย่างแข็งขัน ต้องตั้งใจฟังคำสั่งของกัปตันเรือก็จะรอดไปถึงจุดหมาย 
------------------------------------------------------
แม้ลูกเรืออวดดีมีทิฐิ         และเริ่มริเฉโกยุ่งโยเส           
เมื่อคลื่นลมแรงจัดซัดโซเซ         เรือจะเหล่ระยำคว่ำไป

หมายถึง แต่ถ้าลูกเรือไม่เชื่อฟังกัปตันและเริ่มแตกคอกัน เวลาคลื่นลมแรงเรือก็จะโคลงเคลง ต่อมาเรือก็จะจม 
---------------------------------------------------
แม้ต่างคนต่างเถียงเกี่ยงแก่งแย่ง          นายเรือจะเอาแรงมาแต่ไหน
แม้ไม่ถือเคร่งคงตรงวินัย          เมื่อถึงคราวพายุใหญ่จะครวญคราง

หมายถึง ถ้าลูกเรือมัวแต่ทะเลาะกัน กัปตันก็จะไม่มีกำลังมาต่อสู้ ถ้าไม่เคร่งครัดต่อกฏระเบียบเวลาที่เกิดภัยอะไรขึ้นจะเดือดร้อน
---------------------------------------------------------
นายจะสั่งสิ่งใดไม่เข้าจิต          จะต้องติดตันใจให้ขัดขวาง
จะยุ่งแล้วยุ่งเล่าไม่เข้าทาง          เรือก็คงอับปางกลางสาคร

หมายถึง กัปตันสั่งอะไรก็ไม่ฟังพอถึงเวลาก็มีข้อขัดแย้งต่อมาก็จะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้น ในที่สุดเรือก็จะล่มกลางทะเล 
---------------------------------------------------------
ถึงเสวีที่เป็นข้าฝ่าพระบาท          ไม่ควรขาดความสมัครสโมสร
ในพระราชสำนักพระภูธร          เหมือนเรือแล่นสาครสมุทรไทย

หมายถึง ถึงจะเป็นข้ารับใช้ของพระเจ้าแผ่นดินก็ไม่ควรขาดความสามัคคีปรองดองกัน เหตุการณ์ในพระราชสำนักก็เปรียบเสมือนเรือที่แล่นอยู่ตามทะเลมหาสมุทร 
----------------------------------------------------------
เหล่าเสวกตกที่กะลาสี          ควรคิดถึงหน้าที่นั้นเป็นใหญ่
รักษาตนเคร่งคงตรงวินัย          สมานใจจงรักพระจักรี

หมายถึง เหล่าข้าราชการในราชสำนักก็เหมือนเป็นกะลาสีควรให้ความสำคัญกับหน้าที่ที่ ต้องทำเป็นหลัก ปฏิบัติตนตามกฏตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดและสามัคคีจงรักภักดีต่อพระ เจ้าแผ่นดิน 
-------------------------------------------------------
ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง          สามัคคีเป็นกำลังพลังศรี
ควรปรองดองในหมู่ราชเสวี           ให้สมที่ร่วมพระเจ้าเราองค์เดียว

หมายถึง ไม่ควรแยกฝ่ายเลือกที่จะเคารพเชื่อฟังใคร ควรที่จะสามัคคีปรองดองกันในหมู่ข้าราชการเพื่อเป็นพลังในการทำความดีให้สม กับที่มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวกัน

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก

สิ่งหนึ่งที่เราควรมีไว้ในจิตใจคือ พระเจ้าแผ่นดินเปรียบเสมือนพ่อบังเกิดเกล้าที่เราควรเกรงใจและเคารพนับถือ เราต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ควรนึกว่าพวกเราก็เป็นข้ารับใช้ของพระเจ้าแผ่นดินคนหนึ่งเหมือนลูกเรือที่ อยู่ในเรือกลางทะเลจำเป็นที่จะต้องมีความสามัคคีต่อกันและกัน ถ้าลูกเรือเชื่อฟังกัปตันก็จะต้องช่วยกัปตันอย่างแข็งขัน ต้องตั้งใจฟังคำสั่งของกัปตันเรือก็จะรอดไปถึงจุดหมาย แต่ถ้าลูกเรือไม่เชื่อฟังกัปตันและเริ่มแตกคอกัน เวลาคลื่นลมแรงเรือก็จะโคลงเคลง ต่อมาเรือก็จะจม ถ้าลูกเรือมัวแต่ทะเลาะกัน กัปตันก็จะไม่มีกำลังมาต่อสู้ ถ้าไม่เคร่งครัดต่อกฏระเบียบเวลาที่เกิดภัยอะไรขึ้นจะเดือดร้อนกัปตันสั่งอะไรก็ไม่ฟังพอถึงเวลาก็มีข้อขัดแย้งต่อมาก็จะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้น ในที่สุดเรือก็จะล่มกลางทะเล ถึงจะเป็นข้ารับใช้ของพระเจ้าแผ่นดินก็ไม่ควรขาดความสามัคคีปรองดองกัน เหตุการณ์ในพระราชสำนักก็เปรียบเสมือนเรือที่แล่นอยู่ตามทะเลมหาสมุทร เหล่าข้าราชการในราชสำนักก็เหมือนเป็นกะลาสีควรให้ความสำคัญกับหน้าที่ที่ ต้องทำเป็นหลัก ปฏิบัติตนตามกฏตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดและสามัคคีจงรักภักดีต่อพระ เจ้าแผ่นดินไม่ควรแยกฝ่ายเลือกที่จะเคารพเชื่อฟังใคร ควรที่จะสามัคคีปรองดองกันในหมู่ข้าราชการเพื่อเป็นพลังในการทำความดีให้สม กับที่มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวกัน


บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา


๏   อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ  ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่  
ณ ชาตินั้นนรชนไม่สนใจ  ในศิลปะวิไลละวาดงาม ๚  
๏   แต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ  ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม  
ย่อมจำนงศิลปาสง่างาม  เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดา ๚  
๏ อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์  เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า 
ใครใครเห็นไม่เป็นที่จำเริญตา  เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย ๚  
๏   ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก  ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย  
จำเริญตาพาใจให้สบาย  อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญ ๚  
๏ แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม  เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร  
เพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ  โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ ๚  
๏   เพราะการช่างนี้สำคัญอันวิเศษ  ทุกประเทศนานาทั้งน้อยใหญ่  
จึงยกย่องศิลปกรรม์นั้นทั่วไป  ศรีวิไลวิลาศดีเป็นศรีเมือง ๚  
๏    ใครดูถูกผู้ชำนาญในการช่าง  ความคิดขวางเฉไฉไม่เข้าเรื่อง  
เหมือนคนบ้าคนไพรไม่รุ่งเรือง  จะพูดด้วยนั้นก็เปลืองซึ่งวาจา ๚  
๏ แต่กรุงไทยศรีวิไลทันเพื่อนบ้าน  จึ่งมีช่างชำนาญวิเลขา  
ทั้งช่างปั้นช่างเขียนเพียรวิชา  อีกช่างสถาปนาถูกทำนอง ๚  
๏    ทั้งช่างรูปพรรณสุวรรณกิจ ช่างประดิษฐ์รัชดาสง่าผ่อง  
อีกช่างถมลายลักษณะจำลอง  อีกช่ำชองเชิงรัตนะประกร ๚ 
๏    ควรไทยเราช่วยบำรุงวิชาช่าง  เครื่องสำอางแบบไทยสโมสร  
ช่วยบำรุงช่างไทยให้ถาวร  อย่าให้หย่อนกว่าเขาเราจะอาย ๚  
๏    อันผองชาติไพรัชช่างจัดสรร เป็นหลายอย่างต่างพรรณเข้ามาขาย  
เราต้องซื้อหลากหลากและมากมาย  ต้องใช้ทรัพย์สุรุ่ยสุร่ายเป็นก่ายกอง ๚  
๏   แม้พวกเราชาวไทยตั้งใจช่วย  เอออำนวยช่างไทยให้ทำของ  
ช่างคงใฝ่ใจผูกถูกทำนอง  และทำของงามงามขึ้นตามกาล ๚  
๏   เราช่วยช่างเหมือนอย่างช่วยบ้านเมือง  ได้ประเทืองเทศไทยอันไพศาล  
สมเป็นเมืองใหญ่โตมโหฬาร  พอไม่อายเพื่อนบ้านจึ่งจะดี ๚

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา

ชาติใดที่มีศึกสงครามไม่มีความสงบสุขในแผ่นดิน ประชาชนย่อมไม่มีจืตใจสนใจความงดงามของศิลปะ
แต่หากประเทศใด(ชาติใด)บ้านเมืองสงบสุขปราศจากสงคราม  ประชาชนก็จะทำนุบำรุงการศิลปกรรมทั้งปวงให้เจริญรุ่งเรือง
ชาติใดที่ปราศจากช่างศิลป์  ก็เปรียบเสมือนหญิงสาวที่ไม่มีความงามไม่เป็นที่ต้องตาต้องใจของใคร  มีแต่จะถูกเยาะเย้ยให้ได้อาย  อันศิลปกรรมนั้นช่วยทำให้จิตใจคลายเศร้า  ช่วยทำให้ความทุกข์หมด  ทำให้จิตใจของเรามีความสุขซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงไปด้วย(ทำให้สุขภาพ ใจและกายดี)  ตรงกันข้าม  หากใครไม่เห็นคุณค่าความงามของศิลปะ  เมื่อเผชิญความทุกข์ก็ไม่มีสิ่งใดมาเป็นยาช่วยรสมานบาดแผลของจิตใจ  เขาเหล่านั้นจึงเป๋นคนที่น่าสงสารยิ่งนัก  เพราะความรู้ทางช่างศิลป์สำคัญเช่นนี้  นานาประเทศจึงนิยมยกย่องคุณค่าของศิลปะและความสามารถเชิงช่างของช่างศิลป์ ว่าเป็นเกียรติยศ ความรุ่งเรืองของแผ่นดิน  คนที่ไม่เห็นคุณค่าของศิลปะก็เหมือนคนป่าคนดง  ป่วยการอธิบาย  พูดด้วยก็เปลืองน้ำลายเปล่า
แต่ประเทศไทยของเรานั้นเห็นคุณค่าของงานช่างศิลป์ เช่น ช่างปั้น  ช่างเขียน  ช่างสถาปัตย์ ช่างทองรูปพรรณ  ช่างเงิน  ช่างถมและช่างอัญมณี  ซึ่งเราควรสนับสนุนงานช่างศิลป์ไทยให้ก้าวหน้ารุ่งเรืองอย่าให้ด้อยน้อย หน้ากว่านานาประเทศ  ชาวต่างชาติเมื่อมาเยือนเมืองไทยจะได้ซ้อหางานศิลปะเหล่านี้กลับไปเพราะเห้น ในคุณค่า  การช่วยสนับสนุนงานศิลปกรรม  และส่งเสริมช่างศิลปฺไทยให้สร้างสรรงานศิลปะขึ้นจึงเท่ากัยได้ช่วยพัฒนา ชาติ ให้เจริญพัฒนาอย่าถาวร 


วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สามัคคีเสวก

บทที่ ๒ บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมาและสามัคคีเสวก


ผู้แต่ง
                       พระบามสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ลักษณะคำประพันธ์   กลอนเสภา (กลอนสุภาพ)
                               ตอน วิศวกรรมา เป็นกลอนทั้งหมด ๑๓ บท
                               ตอน สามัคคีเสวก เป็นกลอนทั้งหมด ๙ บท
ที่มาของเรื่อง            เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๖) ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์    ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗
จุดประสงค์ในการแต่ง    เพื่อใช้เป็นบทสำหรับอธิบายนำเรื่องในการฟ้อนรำตอนต่างๆ